ธรรมะซึ่งฝ่ายผู้ใต้บังคับบัญชา

วันที่ 04 กค. พ.ศ.2557

 

 

ธรรมะซึ่งฝ่ายผู้ใต้บังคับบัญชาจะต้องยึดมั่นก็คือ อิทธิบาท 4 ซึ่งประกอบด้วย


           1) ฉันทะ หมายถึง ความมีใจใฝ่รักงานในหน้าที่ของตน และตั้งใจจะทำให้เกิดผลดียิ่งๆ ขึ้น
ไปอีกไม่มีนิสัยเกี่ยงงานแม้แต่น้อย


           2) วิริยะ หมายถึง ความขยันพากเพียรในการทำงานในหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง อดทน ไม่
ท้อถอย ไม่ท้อแท้ เห็นอุปสรรคของงานก็รู้สึก สนุก สนานในการต้องแก้ปัญหานั้นๆที่เกิดขึ้น เสมือนทารกเห็นขนม คือขนมยิ่งมากทารกก็ยิ่ง นุกในการกินขนมอร่อยๆ นั้นๆ


           3) จิตตะ หมายถึง มีจิตใจจรดจ่ออยู่กับงาน ชนิดไม่เสร็จไม่เลิก ไม่สำเร็จไม่ยอมแพ้ หลอม
จิตใจกับงานเป็นหนึ่งเดียวกัน


          4) วิมังสา หมายถึง ตรวจ สอบประเมินผลการทำงานของตนอยู่เสมอ ขณะเดียวกันก็คิดค้น
วิธีแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นทุกๆ ด้านผู้เป็นลูกน้องซึ่งทำงานด้วยอิทธิบาทธรรมดังกล่าว นอกจากตนเองจะมีผลงานดีเด่น ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่ตนแล้ว ยังจะมีส่วนส่งเสริมความก้าวหน้าอย่างมากแก่ลูกพี่ และองค์กรอีกด้วยในทำนองกลับกัน ผู้บังคับบัญชาที่สามารถจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งยังขาดอิทธิบาทธรรม ให้สามารถพันาอิทธิบาทธรรมขึ้นได้ หรือจะสามารถเลี้ยงน้ำใจผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้กอปรด้วยอิทธิบาทธรรมให้ทุ่มเทชีวิตจิตใจทำการงานให้องค์กร ผู้บังคับบัญชาผู้นั้นจะต้องตั้งมั่นอยู่ใน พรหมวิหาร 4 ซึ่งประกอบด้วย


         1) เมตตา หมายถึง ความรักใคร่และปรารถนาดีต่อลูกน้องที่ตั้งใจทำงาน


         2) กรุณา หมายถึง มีความเอ็นดู สงสาร เห็นใจ พยายามเข้าใจและใฝ่ใจที่จะช่วยลูกน้องซึ่ง
ขยันทำงาน แก้ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานในหน้าที่หรือเรื่องส่วนตัว


        3) มุทิตา หมายถึง มีความยินดี เมื่อลูกน้องประสบความสุขความสำเร็จ ไม่คิดอิจฉาริษยายิ่งกว่านั้นยังพยายามส่งเสริมลูกน้องผู้กอปรด้วยอิทธิบาทธรรมให้ประสบความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปอีก


       4) อุเบกขา หมายถึง ให้ความเป็นธรรมแก่ลูกน้องทุกคน โดยปราศจากอคติใดๆ ทั้งสิ้น ยิ่ง
กว่านั้นยังมีการปูนบำเหน็จรางวัลเป็นพิเศษแก่ลูกน้องที่ตั้งใจทำประโยชน์ให้แก่องค์กร ด้วยการให้โบนัสการให้ถือหุ้นของบริษัท การให้เงินเดือนเพิ่ม เป็นต้น


       อิทธิบาทธรรมของผู้ใต้บังคับบัญชา และพรหมวิหารธรรมของผู้บังคับบัญชา อาจแสดงด้วย
ตารางให้เห็นว่าธรรมะทั้ง 2 หมวดนี้ มีความสัมพันธ์ และอุปการะต่อกันอย่างไร ดังนี้
อันดับที่ อิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4

 

      1ฉันทะ เมตตา


      2วิริยะ กรุณา


      3จิตตะ มุทิตา


      4วิมังสา อุเบกขา

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010540803273519 Mins