อานิสงส์ของธรรมทาน

วันที่ 09 มีค. พ.ศ.2558

   

อานิสงส์ของธรรมทาน

ธรรมทานนี้มีอานิสงส์มากดังที่มีการพรรณนาคุณไว้ในอรรถกถาธรรมบทว่า

     แม้ทายกจะถวายจีวรอย่างดีที่สุดแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันตเจ้าทั้งหลายที่นั่งติดๆกันเต็มห้องจักรวาลนี้ก็ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าการอนุโมทนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยพระคาถาเพียง 4 บาทและจีวรทานนั้นมีค่าไม่ถึง 1 ใน 16 แห่งพระคาถาที่พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนา

    แม้ทายกจะถวายโภชนะข้าวสาลีกอปรด้วยสูปะพยัญชนะ(แกงและกับข้าว)อันประณีตเป็นต้น ให้เต็มบาตรพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดีจะถวายเภสัชทานมี เนยใส เนยเหลว น้ำผึ้ง เป็นต้น ให้เต็มบาตรพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่นั่งติดๆกันเต็มห้องจักรวาลก็ดียังมีอานิสงส์น้อยกว่าธรรมทานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอนุโมทนาด้วยพระคาถาเพียง 4 บาท อนึ่ง ทายกจะถวายเสนาสนะ มีมหาวิหารหรือโลหปราสาทหลายแสนหลังยังมีอานิสงส์น้อยกว่าธรรมทานที่พระสัมมาลัมพุทธเจ้าอนุโมทนาด้วยพระคาถาเพียง  4 บาท การแสดงธรรม การบอกธรรม การฟังธรรม มีอานิสงส์ยิ่งใหญ่และประเสริฐกว่าจีวรทาน บิณฑบาตทาน เสนาสนะทานทุกอย่างเพราะว่าชนทั้งหลายที่ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่รู้ถึงคุณของพระรัตนตรัยจะทำบุญมากมายขนาดนั้นได้ก็ต่อเมื่อได้ฟังธรรมเพราะถ้าไม่ได้ฟังธรรมจนมีศรัทธาและรู้ถึงคุณค่าของการทำทานแล้วจะถวายข้าวสวยสักทัพพีข้าวต้มสักกระบวยก็ยังยากแต่หากไต้ฟังธรรมจนมีศรัทธาความอยากทำทานหรือการทำความดีอื่นๆก็จะเกิดตามมาโดยง่ายดังตัวอย่างเรื่องของโรชะมัลลกษัตริย์ตังนี้

     ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปทางพระนครกุสินาราพร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ 1,250 รูปพวกมลลกษัตริย์ชาวพระนครกุสินาราได้ทรงทราบข่าวจึงได้ตั้งกติกาไว้ว่าผู้ใดไม่รับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจะต้องถูกปรับสินไหมเป็นเงิน 500 กษาปณ์โรชะมลลกษัตริย์ซึ่งเป็นพระสหายของพระอานนท์ไม่มีศรัทธาแต่เพราะกลัวว่าจะถูกปรับสินไหมจึงให้การต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอย่างดีครั้นรับเสด็จเสร็จแล้วจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ท่านพระอานนท์ชื่นชมเขาว่า“ท่านโรชะการรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าของท่านโอฬารแท้” โรชะมลลกษัตริย์ตรัสว่า

     “ พระคุณเจ้าอานนท้ พระพุทธเจ้าก็ดี พระธรรมก็ดี พระสงฆก็ดี ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าใหญ่โตพวกญาติต่างหากได้ดั้งกติกาไว้ว่าผู้ใดไม่ต้อนรับเสด็จพระผู้ม่พระภาคเจ้าจะต้องถูกปรับสินไหมเป็นเงิน 500 กษาปณ์ ข้าพเจ้านั้นแลได้ต้อนรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเช่นนี้เพราะกลัวพวกญาติปรับสินไหม”ท่านพระอานนท์แสดงความไม่พอใจว่าไฉนโรชะมัลลกษัตริย์จึงไต้ตรัสอย่างนี้ แล้วเข้าไปเล่าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า

   “ พระพุทธเจ้าข้า โรชะมัลลกษัตริย์ผู้นี้เป็นคนมีชื่อเสียงมีคนรู้จักมากและความเลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ของคนที่มีผู้รู้จักมากเช่นนี้มีอิทธิพลมากนักขอประทานพระวโรกาสขอพระองค์ทรงกรุณาโปรดบันดาลให้โรชะมัลลกษัตริย์เลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า ”พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำพระอานนท์แล้วทรงแผ่เมตตาจิตไปยังโรชะมลลกษัตริย์ แล้วทรงลุกจากที่ประทับเสด็จเข้าพระวิหารครั้นโรชะมลลกษัตริย์อันพระเมตตาจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกต้องแล้วไต้เที่ยวค้นหาตามวิหารไปทั่วทั้งบริเวณทุกแห่งแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านเจ้าข้าเวลานี้พระผู้มืพระภาคเจ้าอรพันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ที่ไหนเพราะข้าพเจ้าใคร่จะเฝ้าพระองค์”

     ภิกษุทั้งหลายถวายพระพรว่า “ท่านโรชะ พระวิหารนั่นเขาปิดพระทวารเสียแล้ว ขอท่านโปรดสงบเสียงเสด็จเข้าไปทางพระวิหารนั้นค่อยๆย่องเข้าไปที่หน้ามุขทรงกระแอมแล้วทรงเคาะพระทวารเถิดพระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงเปิดพระทวารรับท่าน ถวายพระพร ” โรชะมัลลกษัต่ริย์ทรงทำตามที่ได้รับแนะนำเมื่อเขานั่งต่อเบื้องพระพักตร์พระศาสดาเรียบร้อยแล้ว พระพุทธองค์จึงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศเรื่องทาน ศีล สวรรค์ โทษของกามอันต่ำทรามอันเศร้าหมองและอานิสงส์ในการออกจากกามให้เขาฟังเมื่อทรงทราบว่าโรชะมัลลกษัต่ริย์มีจิตคล่องมีจิตอ่อนมีจิตปราศจากนิวรณ์มีจิตเบิกบานมีจิตผ่องใสแล้วจึงทรงแสดงพระธรรมเทศนา คือ อริยสัจที่ลุ่มลึกยิ่งขึ้นไปจนโรชะมลลกษัตริย์มีดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบัน ณ ที่นั้นเองโรชะมัลลกษัตริย์ได้ทรงเห็นธรรมแล้วได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งได้หยั่งลงสู่ธรรมแล้วข้ามความสงสัยได้แล้วปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัยถึงความเป็นผู้องอาจไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดาได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า      “ขอประทานพระวโรกาสขอพระคุณเจ้าทั้งพลายโปรดรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัย เภสัชบริขาร ของข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียวอย่ารับของคนอื่น”  

     พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนโรชะ แม้อริยบุคคลผู้โด้เห็นธรรมแล้วด้วยญาณของพระเสขะด้วยทัสสนะของพระเสขะ เหมือนอย่างท่านก็คงมืความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอ พระคุณเจ้าทั้งพลายคงกรุณารับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของพวกเราเท่านั้นคงไม่รับของผู้อื่นเป็นแน่เพราะฉะนั้นแลภิกษุทั้งพลายจักรับปัจจัยของท่านด้วยของคนอื่นด้วย ”จากเรื่องข้างต้นจะเห็นไต้ว่าการได้ฟังธรรมสามารถน้อมนำจิตใจและเปลี่ยนบุคคลจากที่ไม่มีความเลื่อมใสให้หันกลับมาเลื่อมใสและยังทำให้เขามีโอกาสที่จะได้สั่งสมบุญใหญ่ติดตัวไปอีกด้วย

     อานิสงส์ของธรรมทานอีกประการหนึ่ง คือ ยกเว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วแม้พระสาวกทั้งหลาย เช่น พระสาริบุตรผู้เป็นเลิศด้วยปัญญาญาณขนาดสามารถนับเม็ดฝนที่ตกอยู่ตลอดกัปได้ก็ยังไม่สามารถจะบรรลุอริยผลมีโสดาปัตติผลเป็นด้นโดยลำพังตนเองได้ต่อเมื่อมาได้ฟังธรรมจาก พระอัสสชิและพระศาสดา จึงสามารถบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน และเป็นพระอรหันตใด้ตังนั้น “ธรรมทานจึงประเสริฐที่สุด” ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบท้าวสักกเทวราชและเทวดาทั้งหลายที่มาทูลถามว่า “การให้อะไร ชนะการให้ทั้งปวง รสแห่งอะไร ชนะรสทั้งปวง ความยินดีในอะไร ชนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นไปเเห่งอะไร ชนะทุกข์ทั้งปวง” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตอบว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพรสํ ธมมรโส ชินาติ สพฺพรดึ ธมมรติ ชินาติ ตณฺพกฺชโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ

การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง

รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง

ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง

ความสิ้นไปเเห่งตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง

ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คน

 

จากหนังสือ DOU
วิชา SB 101 วิถีชาวพุทธ

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010494152704875 Mins