ความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ

วันที่ 24 มิย. พ.ศ.2557

 

 

ความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ

 


           สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ หมายถึงอะไร


           สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่คนเราจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย มีอยู่ 2 ประเภทคือสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวกับสิ่งแวดล้อมไกลตัวสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว ได้แก่ที่อยู่อาศัย พื้นดิน อากาศ ถนน หนทาง คูคลอง แม่น้ำ ต้นไม้ใหญ่น้อยในบริเวณบ้าน และบริเวณใกล้บ้าน ตลอดจนสัตว์ดิรัจฉานต่างๆ ในบริเวณบ้าน เช่น แมลงสัตว์ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคและนกต่างๆ เป็นต้นสิ่งแวดล้อมไกลตัว ได้แก่ ทะเล มหาสมุทร ป่าเขาลำเนาไพร ภูมิอากาศ และสัตว์ป่านานาพันธุ์บุคคลที่ชื่อว่ามีความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติควรมีพฤติกรรมอย่างไร


         ผู้มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง ย่อมมีความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติย่อมตระหนักดีว่าสิ่งแวดล้อมทั้งใกล้ตัวและไกลตัว แม้บางอย่างจะมีอันตราย แต่ส่วนมากก็ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ และสัตว์ รวมถึงพืชพันธุ์ไม้อีกด้วย พวกเขาจึงพยายามร่วมมือกันปกป้อง บำรุงรักษา และอนุรักษ์ทรัพยากรตามธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา นับตั้งแต่การไม่ปล่อยให้บริเวณบ้านสกปรก เลอะเทอะ มีน้ำครำเน่าเหม็น เป็นแหล่งกำเนิดของยุงและเชื้อโรคต่างๆ ไม่สร้างมลพิษในน้ำและในอากาศ ด้วยการไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำ ไม่ปล่อยให้ยวดยานของตนปล่อยแก๊สพิษออกมาในบรรยากาศ เป็นต้น

 

           เหล่านี้คือตัวอย่างของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวสำหรับสิ่งแวดล้อมไกลตัวสัมมาทิฏฐิชนก็จะไม่ตัดไม้ ทำลายป่า ทั้งนี้ก็เพื่อการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร และเพื่อป้องกันพื้นผิวดินพังทลาย ตลอดจนการป้องกันน้ำท่วม เป็นต้น

 

              อย่างไรก็ตาม การที่ทรัพยากรตามธรรมชาติถูกทำลายอย่างมากมายทุกวันนี้ ก็ล้วนเป็นการกระทำของมิจฉาทิฏฐิชน ซึ่งมีความเห็นผิด คิดผิด พูดผิด ทำผิด มีอาชีพผิดทั้งสิ้น
ถ้าคนเราขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จะเกิดผลเสียอย่างไรแท้ที่จริงสาเหตุที่ทำให้คนเราขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมก็คือ กิเลส 3 ตระกูล


             ซึ่งนอนเนื่องฝังแน่นอยู่ในใจนั่นเอง บุคคลใดใส่แว่นตาเปอนสีเปอนโคลน ย่อมเห็นสิ่งต่างๆ บิดเบือนเพี้ยนสีเพี้ยนรูปไปตามแว่นที่ใส่ฉันใด บุคคลที่ตกอยู่ใต้อำนาจความโลภ ความโกรธ และความหลงใจของเขา ย่อมขุ่นมัว ความคิด ความเห็นย่อมบิดเบือนคลาดเคลื่อนผิดเพี้ยน ไม่ตรงตามความเป็นจริงฉันนั้น ย่อมก่อให้เกิดปัญหาได้ หลากหลายรูปแบบแตกต่างกันออกไป แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบใด ก็ล้วนเป็นผลเสียทั้งสิ้น เช่น   บางคนที่ตกอยู่ใต้อำนาจความโลภ และความหลง ก็แสวงหาความร่ำรวยด้วยการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า

 

            ซึ่งในที่สุดจะก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศน์วิทยาเป็นอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคนเราตลอดจนพืชและสัตว์ต่อไปอีกอย่างยากที่จะหาทางแก้ไข นี่คือ ผลเสียอันเกิดจากการขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติบางคนตกอยู่ใต้อำนาจความโกรธและความหลง แล้วพาลหาเรื่องกับผู้บริสุทธิ์ที่เป็นทิศ 6ของตน ถึงขั้นปลดปลงชีวิตกันด้วยเจตนาที่จะสร้างความทุกข์ และความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นที่อยู่แวดล้อมแต่ในที่สุดตนเองก็ต้องตกอยู่ในความทุกข์ ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นนั้นเอง นี่คือผลเสียอันเกิดจากการขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อทิศ 6 ของตน

 

           ผู้ที่สนใจติดตามข่าวสารทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ย่อมจะได้ยินได้ฟังปัญหาต่างๆ อัน
เกิดจากบุคคลที่ไร้ความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่มิขาดสาย ไม่เฉพาะแต่ใน สมัยปัจจุบันเท่านั้น แม้ในสมัยโบราณก็มีปัญหาอันเกิดจากบุคคล ประเภทดังกล่าวอยู่เนืองๆ ดังมีหลักฐานปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนามากมาย ซึ่งจะขอยกบางเรื่องมาเป็นตัวอย่าง ดังนี้

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.025629651546478 Mins