ประวัติท่านคุณานันทะ
ท่านคุณานันทะได้ประกาศตนว่า จะกอบกู้และปกป้องพระพุทธศาสนา จากการย่ำยีของศาสนาอื่น ทําให้เกิดการประลองปัญญาโดยวาทศิลป์ขึ้น
เกาะศรีลังกา ครั้งหนึ่ง พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องมาเป็นเวลาช้านาน จนกระทั่งถึงยุคล่าอาณานิคม ศรีลังกาถูกชาติตะวันตกหลายชาติด้วยกัน ได้แก่ฮอลันดา โปรตุเกส และอังกฤษ ผลัดเปลี่ยนกันมารุกราน ช่วงชิงทรัพยากร เป็นเวลารวมกว่า ๔๐๐ ปี นอกจากเสียเอกราชทางการเมืองการปกครองแล้ว ผู้ครอบครองก็มุ่งเป้ามาที่การทำลายพระพุทธศาสนาให้หมดไปจากเกาะแห่งนี้ให้ได้
เป็นเรื่องจริงที่ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ยุคนั้นพระพุทธศาสนาในเกาะลังกา อยู่ในยุคมืด ชาวพุทธถูกกดขี่ข่มเหงทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ราวกับว่าถูกต้อนจนเกือบจะตกทะเล ชาวพุทธรู้สึกสิ้นหวังท้อแท้ไปทุกหย่อมหญ้า
ตัวอย่างการกดขี่
มีการตีพิมพ์และแปลบทโต้วาทะเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ อีกหลายภาษา
กรุงศรีลังกา ไม่สิ้นคนดี
ลุปี พ.ศ. ๒๓๖๖ (๑๘๐ ปีที่แล้วมา) เด็กชายคนหนึ่ง ได้ถือกำเนิดขึ้นในครอบครัวชาวสิงหล แต่เนื่องจากลังกาอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่ง เขาจึงได้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าไมเคิล
ส่วนตัวแล้ว หนูน้อยไมเคิลมีนิสัยดีๆ อยู่ ๔ ประการ คือ....
เมื่อหนูน้อยไมเคิล อายุได้ ๑๒ ปี ก็พบจุดหักเหครั้งสำคัญในชีวิต เขาได้ไปเที่ยวงานวัดบนเขาแห่งหนึ่ง เขาช่วยงานเป็นอาสาสมัครอยู่ในงานบุญครั้งนั้น เอิบอิ่มเพลิดเพลินอยู่ในบรรยากาศแห่งบุญอยู่หลายวัน และได้ตัดสินใจขอบวชเป็นสามเณรที่วัดนั้นนั่นเองได้รับนามว่า คุณานันทะ ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวศรีลังการู้จักกันดี และโด่งดังในโลกพระพุทธศาสนามาตราบทุกวันนี้
ในวันบรรพชาสามเณรคุณานันทะ ได้เทศน์โปรดญาติโยมในทันที การเทศน์กัณฑ์แรกในชีวิต มีผู้ฟังเป็นพันๆ คน มีเนื้อหาเทศนาถึง ๓ ชั่วยาม (๑๒ ชั่วโมง) โดยที่ผู้ฟังไม่รู้สึกอยากกลับบ้านเลย ทั้งๆ ที่เป็นการเทศน์โต้รุ่ง ผู้คนก็ร่ำลือถึงความสามารถ และความสง่างามของสามเณรไปทั่วประเทศ
แต่ทว่า...สามเณรน้อยวัย ๑๒ ขวบ หลังจากบรรพชาแล้ว หาได้หลงใหลในคำสรรเสริญแต่อย่างใด เป็นที่น่าแปลกว่า แม้เป็นเด็กวัยวิ่งเล่นก็ตาม ท่านกลับมีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น.....
ชีวิต... แม้เป็นอยู่ถึงร้อยปี
มีความเกียจคร้าน
มีความเพียรเลว
หาประเสริฐไม่
เมื่อสามเณรท่านอายุได้ ๒๑ ปี ได้อุปสมบทที่วัดในเมืองโคลัมโบ ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่มั่นการเผยแผ่ของศาสนาอื่น พระภิกษุคุณานันทะมีบุคลิกไม่เหมือนชาวพุทธทั่วไป ซึ่งเมื่อถูกรุกราน อย่างไม่เป็นธรรมจากศาสนาอื่น ชาวพุทธทั่วไป มักจะ...
ผลจากการเป็นสามเณรที่ดี รักการฝึกฝนตนเองอย่างยิ่งยวด รักและหวงแหนพระพุทธศาสนาตั้งแต่เยาว์วัย ครั้นพอถึงวัยเป็นพระภิกษุ ก็ทำให้ท่านคุณานันทะเป็นพระภิกษุที่ดี และต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวที่เปลี่ยนแปลงชีวิตชาวพุทธในศรีลังกา และเป็นประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว....
วาทะธรรม : ปัญญาประดุจดังอาวุธ
การข่มเหงพุทธศาสนิกชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จนใครๆ ต่างสรุปว่าอีกไม่นานพระพุทธศาสนาจะต้องหมดไปจากเกาะลังกา แม้แต่นักเขียนชื่อดังสมัยนั้น คือ เจมส์ เดอ อัลวิส ได้เขียนไว้ในปี พ.ศ. ๒๓๙๓ ว่า พระพุทธศาสนาจะสูญสิ้นปลาสนาการไปจากศรีลังกา ก่อนสิ้นสุดคริสตศตวรรษที่ ๑๙ นี้ เป็นแน่แท้ (ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๔๓)
ฝรั่งต่างชาติใช้ยุทโธปกรณ์เป็นอาวุธในการรุกรานชาติ และศาสนาอื่น แต่ท่านคุณานันทะ ท่านใช้ปัญญาเป็นอาวุธ ครั้นเมื่อท่านคุณานันทะได้ประกาศตนว่าจะกอบกู้และปกป้องพระพุทธศาสนา จากการย่ำยีของศาสนาอื่น ทำให้เกิดการประลองปัญญาโดยวาทศิลป์ขึ้น เป็นจำนวนถึง ๕ ครั้งในช่วงเวลา ๙ ปีเศษ (ระหว่าง ก.พ. ๒๕๐๘ - ส.ค. ๒๔๑๖)
ท่านทำให้พวกศาสนาอื่นหวาดผวา
เหมือนนักย่องเบา
เห็นพระจันทร์เต็มดวง
ลอยเด่นขึ้นมา ฉะนั้น
ครั้งที่ ๑ : เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๘
ผลที่เกิดขึ้น ชาวพุทธที่เคยท้อแท้หมดหวัง ต่างเริ่มมองเห็นความหวังในการกอบกู้พระศาสนาขึ้นมาบ้าง และเชื่อมั่นว่า สิ่งที่ท่านคุณานันทะทำตลอดมานั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
ครั้งที่ ๒ : เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๐๘
ผลที่เกิดขึ้น ผู้ฟังทั้งสองศาสนาเพิ่มขึ้น เกิดความตื่นตัวสนใจในการโต้วาทะธรรมอย่างกว้างขวาง
ครั้งที่ ๓ : เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๙
ผลที่เกิดขึ้น ศาสนาอื่นเข็ดขยาด ไม่กล้ามาตอแยท่านคุณานันทะเป็นเวลานานถึง ๕ ปี การย่ำยีพระพุทธศาสนาในที่สาธารณะก็หมดไป แม้ว่าการโจมตีทั่วไปจะยังไม่หมดก็ตาม
ครั้งที่ 4 : เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๔
ผลที่เกิดขึ้น ผู้แทนศาสนาอื่นเข็ดหลาบในการโต้วาทะธรรม กลับไปปรับกระบวนทัพใหม่
ครั้งที่ ๕ : เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๖
เป็นการโต้วาทะธรรมที่สำคัญที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุด และมีผลกระทบต่อความเป็นความตายของศาสนาทั้งสองมากที่สุด เกิดจากการที่ฝ่ายศาสนาอื่นได้กล่าวจ้วงจาบย่ำยีพระพุทธศาสนา ท่านคุณานันทะจึงกล่าวเชิญมาโต้วาทะธรรมกัน ณ เมืองปานะดุระ โดยแบ่งเวลาสนทนาเป็น ๒ วัน รวม ๕ รอบ
ผลที่เกิดขึ้น ฝ่ายศาสนาอื่นพ่ายแพ้ราบคาบ ไม่กล้าเผชิญหน้ากับท่านอีกต่อไป
บุคคล...
แม้มีชีวิตอยู่เพียงหนึ่งวัน
แต่มีความเพียรมั่น
ชีวิตนั้น... ย่อมประเสริฐกว่า
อนุสาวรีย์ของท่านคุณานันทะ
ณ ประเทศศรีลังกา
ผลต่อเนื่องที่ยิ่งใหญ่
๑. มีการตีพิมพ์ และแปลบทโต้วาทะเป็นภาษาอังกฤษ โดย นสพ.รายวัน Times of Ceylon และภาษาอื่นๆ อีกหลายภาษา
๒. ชาวอเมริกันคนหนึ่งชื่อ เฮนรี สตีลโอลกอตต์ ได้ไปอ่านพบเข้า ซึ่งต่อมาได้มีบทบาทในการผลักดันแก้กฎหมายต่างๆ เช่น ให้อังกฤษยกเลิกกฎหมายห้ามชาวพุทธเฉลิมฉลองวันสำคัญทางศาสนาของตน ดังนั้นชาวพุทธจึงทำพิธี ฉลองวันวิสาขบูชาได้อีกครั้ง ในปีพ.ศ. ๒๔๒๘
๓. ชาวศาสนิกอื่นที่มาร่วมฟังการโต้วาทะในครั้งนั้น บางคนถึงกลับเสื่อมศรัทธาจากศาสนาของตน มานับถือพระพุทธศาสนา
๔. การข่มเหง เบียดเบียน ทำร้าย ชาวพุทธก็หมดไป
ปัจฉิมวัยอันงดงาม
ตลอดชีวิตของท่านนั้น เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขของชาวพุทธทั้งประเทศ มิให้ตกอยู่ในอำนาจของความอยุติธรรมจากศาสนาอื่น จนถึงกับมีผู้เขียนพรรณนาโวหารเป็นภาษาสิงหลไว้ว่า ท่านทําให้พวกศาสนาอื่นหวาดผวา เหมือนนักย่องเบา เห็นพระจันทร์เต็มดวงลอยเด่นขึ้นมา ฉะนั้น
เพราะเหตุที่ท่านทำงานพระศาสนาแบบอุทิศชีวิต ทำงานหนักและไม่หยุดหย่อนเลยท่านจึงอาพาธอยู่เนืองๆ หรือที่เรียกว่าป่วยกระเสาะกระแสะนั่นเอง แพทย์ที่ดีที่สุดขอให้ท่านวางมือจากงานเสียบ้าง แต่ท่านก็ไม่ได้ทำตามคำของแพทย์ จนกระทั่งวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๓ ท่านจึงได้มรณภาพไปด้วยอาการสงบ เหมือนดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวันพลันดับลง ด้วยสิริอายุเพียง ๖๗ ปีเท่านั้น นับเป็น ๖๗ ปี ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนาและอนุชนตราบจนทุกวันนี้