วงจรปฏิจจสุมปบาท คือ วงจรของสังสารวัฏที่เวียนวนไม่รู้จบ การเจริญวิปัสสนาก็เพื่อจะเรียนรู้การดับวงจรปฏิจจสมุปบาทนี้เสีย เพื่อจะได้ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป สำหรับกระบวนการในการดับวงจรปฏิจจสมุปบาท มีดังต่อไปนี้
...อ่านต่อ
พระพุทธศาสนาแสดงวัฏฏะ คือ อาการวนเวียนแห่งชีวิตที่ดำเนินไป เป็นเหตุเป็นผลสืบช่วงต่อกันไว้ 3 อย่าง
...อ่านต่อ
จากที่ผ่านมา นักศึกษาได้เห็นความเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน คือ อวิชชาเป็นจุดเริ่มต้น และชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นจุดสุดท้าย ที่ยกอวิชชาขึ้นแสดงก่อน เป็นเพียงการอาศัยอวิชชาเป็นจุดเริ่มต้น เพื่ออธิบายกระบวนของปฏิจจสมุปบาท หรืออาจเป็นได้ว่า อวิชชาเป็นกิเลส เป็นตัวเด่นในวัฏฏะ จึงยกขึ้นแสดงเป็นอันดับแรก แต่ในการแสดงปฏิจจสมุปบาทนั้น พระพุทธองค์มีวิธีการแสดงได้หลายวิธี ทรงแสดงเทศนาปฏิจจสมุปบาท เป็น 4 นัย ดังปรากฏในสังยุตตนิกาย
...อ่านต่อ
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงวงจรของสายเกิดอันเป็นปัจจัยแห่งการเกิดสังสารวัฏ การเวียนว่าย ตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยปฏิจจสมุปบาทแต่ละองค์มีความเกี่ยวข้อง
...อ่านต่อ
ความสัมพันธ์ของปฏิจจสมุปบาทแบ่งเป็น 2 สาย คือ สายเกิด(ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์) เรียกว่า สมุทยวาร และสายดับ(ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล) เรียกว่า นิโรธวารมีพระบาลีพุทธภาษิตโดยย่อ
...อ่านต่อ
ปฏิจจสมุปบาท มีองค์ประกอบซึ่งเป็นหลักการสำคัญทั้งหมด 12 ข้อ แต่ละข้อมีประเด็นควรศึกษาให้ทราบไว้เป็นเบื้องต้น
...อ่านต่อ
ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักธรรมสำคัญที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเกี่ยวกับกฎธรรมชาติหรือหลักความจริงที่มีอยู่ตามกฎธรรมชาติ ที่ไม่มีใครสร้างหรือดลบันดาลขึ้น หากแต่มีอยู่ตามธรรมชาติอย่างแท้จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบกฎธรรมชาตินี้แล้วได้ทรงนำมาประกาศแก่ชาวโลกให้รู้ตาม ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในปัจจยสูตรนั้น
...อ่านต่อ
ปฏิจจสมุปบาท มาจากคำบาลีว่า “ ปฏิจฺจสมุปฺปาท” ซึ่งประกอบด้วยคำ ปฏิจฺจ กับ คำว่า สมุปฺปาท ปฏิจฺจ แปลว่า อาศัย สมุปฺปาท (แยกเป็น สํ ร่วม + อุปฺปาท เกิดขึ้น) แปลว่า การเกิดขึ้นร่วมกัน
...อ่านต่อ
กิจในอริยสัจ 4 กิจ คือ หน้าที่ในอริยสัจ 4 ข้อใดมีหน้าที่อย่างไร รวมเรียกว่า ไตรปริวัฏ ทวาทสาการ แปลว่า 3 รอบ 12 อาการ หมายถึง ญาณ 3 ในอริยสัจ 4 ผู้รู้อริยสัจ 4 ที่เรียกว่ารู้จริง รู้แล้วพ้นทุกข์ได้ ต้องรู้ประกอบด้วยญาณ 3 อาการ 12 นี้ ที่คนสามัญรู้นั้นเป็นความจำ ไม่ใช่ความรู้ที่แท้จริง ยังปฏิบัติตามที่รู้ไม่ได้
...อ่านต่อ
ในธัมมจักกัปปวัตนสูตรเรียกมรรคอริยสัจว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ แปลว่า อริยสัจ คือ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งหมายถึงอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง หรือหลักปฏิบัติอันเป็นสายกลาง) ในที่นี้กล่าวถึงคุณธรรม 8 ประการ
...อ่านต่อ
นิโรธเรียกเต็มว่า ทุกขนิโรธ แปลว่า ความดับทุกข์ เพราะความสิ้นไปของตัณหา ดังพระพุทธพจน์ในธัมมจักกัปปวัตนสูตรที่ว่า โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรโธ จาโค ปฏินิสฺสคฺโค มุตฺติ อนาลโย
...อ่านต่อ
สมุทัยอริยสัจนี้ เรียกเต็มว่า ทุกขสมุทัย แปลว่า การเกิดขึ้นของทุกข์ หรือเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความจริงเหตุแห่งทุกข์นั้นมีมาก เช่น ความจน ความเจ็บ ความโง่เขลา เป็นต้น แต่เป็นปลายเหตุหรือตอนปลายของเหตุ ส่วนเหตุขั้นมูลฐานจริงๆ นั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ ประการหนึ่ง คือ ตัณหา
...อ่านต่อ
อริยสัจข้อแรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงคือ เรื่องทุกข์ ที่ทรงแสดงเรื่องทุกข์ก่อนก็เพราะความทุกข์เป็นสิ่งปรากฏชัดในชีวิตมนุษย์ ทุกคนเห็นอยู่ประสบอยู่ทุกวัน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในขันธ์ 5 เป็นปกติและเป็นปัญหาอันยิ่งใหญ่ของสัตว์โลกทุกชนิด บางทีเมื่อตรัสตอบปัญหาซึ่ง มีผู้ถามว่าอะไรเป็นภัยใหญ่ของมนุษย์ ทรงชี้ไปที่ทุกข์ว่าเป็นภัยใหญ่ของมนุษย์
...อ่านต่อ
อริยสัจเป็นหัวข้อธรรมสำคัญอย่างยิ่งหัวข้อหนึ่งในหลักคำสอนสำคัญของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเห็นได้จากหลักฐานต่อไปนี้
...อ่านต่อ
อริยสัจ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ ความจริงที่ทำบุคคลผู้เข้าถึงให้เป็นอริยชน และความจริงอันทำให้บุคคลผู้ปฏิบัติห่างไกลจากข้าศึก
...อ่านต่อ
อินทรีย์ 22 สามารถจัดแบ่งได้ทั้งหมด 5 หมวด ดังนี้คือ 1.หมวดที่เป็นอายตนะ ได้แก่ อินทรีย์ 6 ประกอบด้วย จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ 2.หมวดที่เป็นภาวะ ได้แก่ อินทรีย์ 3 ประกอบด้วย อิตถี ปุริส ชีวิต 3.หมวดที่เป็นเวทนา ได้แก่ อินทรีย์ 5 ประกอบด้วย สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา 4.หมวดที่เป็นพละ ได้แก่ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา 5.หมวดที่เป็นโลกุตตระ ได้แก่ อนัญญาตัญญัสสามิ อัญญา อัญญาตาวี
...อ่านต่อ
อินทรีย์ทั้ง 22 มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องและเชื่อมต่อกันไปเป็นลำดับ ดังที่กล่าวไว้ในอภิธรรมภาชนีย์กล่าวคือ7) 1.ในลำดับนั้น การได้เฉพาะซึ่งอริยภูมิ ย่อมมีด้วยการกำหนดรู้ธรรมอันเป็นภายใน เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงแสดงจักขุนทรีย์ เป็นต้น ซึ่งนับเนื่องด้วยอัตภาพก่อน 2.ก็อัตภาพนั้นอาศัยธรรมใด ย่อมถึงการนับว่า เป็นหญิง หรือเป็นชายเพื่อทรงชี้แจงแสดงว่า ธรรมนั้นคือ อัตภาพนี้ 3.ถัดจากนั้นจึงทรงแสดงอิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์
...อ่านต่อ
จักขุนทรีย์ มีหน้าที่รับสี ได้แก่ จักขุปสาทรูป เป็นรูปธรรม จักขุปสาท เป็นสุขุมรูป มีสัณฐานน้อยเท่าหัวเหา ประดิษฐานอยู่ในท่ามกลางแห่งตาดำ แวดล้อมด้วยปริมณฑลแห่งตาขาว
...อ่านต่อ
อินทรีย์ 22 ประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้ คือ 1.จักขุนทรีย์ ความเป็นใหญ่ของตา มีหน้าที่รับสี ได้แก่ จักขุปสาทรูป เป็นรูปธรรม 2.โสตินทรีย์ มีหน้าที่เอาไว้รับเสียง ได้แก่ โสตปสาทรูป เป็นรูปธรรม
...อ่านต่อ
คำว่า อินทรีย์ นั้นมีความหมายว่า ความเป็นใหญ่ สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน ธรรมที่เป็นเจ้าของในการทำหน้าที่อย่างหนึ่ง เช่น ตาเป็นใหญ่ในการเห็น
...อ่านต่อ
จักขุวิญญาณธาตุ เป็นนามธรรม มีหน้าที่เห็นรูป คือ รู้สี องค์ธรรมได้แก่ จักขุวิญญาณจิต 2 ดวง คือ ดวงบุญและดวงบาป มีลักษณะรู้รูปารมณ์ คือ รู้สีเท่านั้น มีสภาพน้อมไปหารูปารมณ์ รู้สีแล้วดับไปตามธรรมชาติ เมื่อมีแสงสว่างไปกระทบสี สีก็สะท้อนไปกระทบประสาทตา เมื่อมีมนสิการ
...อ่านต่อ

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร


ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล