วัฒนธรรมชาวพุทธ มารยาท การดูแลสุขภาพ พิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วัฒนธรรมชาวพุทธการป้องกันดูแลตนเองเบื้องต้น

 

วัฒนธรรมการดูแลรักษาสุขภาพ
 
 
การป้องกันดูแลตนเองเบื้องต้น 
 
        การทำให้สรีระยนต์แข็งแรงถือเป็นภารกิจอย่างหนึ่งของลูก ๆ ในองค์กร การปล่อยปละละเลยถือว่าไม่ดูแล สมบัติพระศาสนา และการละเว้นกิจสำคัญขององค์กรถือเป็นการหลีกเลี่ยง ภารกิจอันยิ่งใหญ่ เพราะร่างกายเป็นที่รองรับของทุกสิ่งคือ มรรค ผล นิพพาน ถ้าร่างกายไม่แข็งแรง เห็นศูนย์กลางกายก็จะเข้าไปอ่อน ๆ เหมือนสายธนู ที่อ่อนจนยิงไม่ไหว ถ้าร่างกายแข็งแรงจิตใจจะแข็งแกร่ง สรีระยนต์นี้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของพระศาสนา เราจะต้องตั้งใจรักษาสรีระยนต์นี้ให้สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัย เพื่อศึกษาวิชชาธรรมการ และเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายไปทั่วโลก     
 
โอวาทพระราชภาวนาวิสุทธิ์
วัดพระธรรมกาย  
 
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
 
หลักการของหลวงพ่อ
 
 
 
เส้นติด..    
 
        เกิดจากการอยู่ในอิริยาบถเดียวนาน ๆ เช่น พิมพ์ดีด (เส้นคอติด) นั่งรถก็เส้นติด, นั่งภาวนา, นั่งเขียนนาน ๆ ก็เส้นติด แก้ไขโดยออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอ ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายดื่มน้ำน้อยเส้นจะเหี่ยวลีบ ถ้าปล่อยไว้เส้นจะติดเป็นแผงจนไขว้ แล้วแคลเซี่ยมเกาะแกะได้ยากอาการเส้นติดดูได้จากการขับปัสสาวะจะขับไม่หมด ยังมีกระปริบกระปรอยแสดงว่าเส้นลีบแห้ง เส้นเริ่มไขว้ แคลเซี่ยมเริ่มพอก ให้รีบออกกำลังกายภายใน ๑-๒ สัปดาห์จะหาย ถ้าทิ้งไว้นานจะรักษานาน (มาก) การนวดก็พอทำให้อาการทุเลาบ้าง แต่ไม่หายเพราะเส้นติดลึก
 
 
การออกกำลังกาย
 
        มีทั้งข้อดี และข้อเสีย บางคนเล่นโยคะเล่นเฉพาะท่าที่ชอบใจ จึงเกิดการผิดพลาด การเล่นโยคะและมวยจีนนั้น จะต้องไม่หักโหม ควรเล่นท่าตามลำดับ การออกกำลังกายอย่างต่ำต้องออกครั้งละครึ่งชั่วโมง การแกว่งแขนจะได้ผลต้องทำต่อเนื่อง อย่างน้อย ๒๐ นาที คว่ำ-หงายมือ รอบละ ๕ นาที รวม ๔ รอบเป็น ๒๐ นาที    จำนวนครั้งในการแกว่งแขนประมาณ ๑,๒๐๐ ครั้ง จะให้ดีควรแกว่งแขนให้ได้ถึง ๒,๐๐๐ ครั้งต่อวัน ถ้าไม่ชอบแกว่งแขนให้กวาดสนามหญ้า   อย่างน้อยชั่วโมงครึ่งเหมาะสำหรับผู้นั่งภาวนาอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผล
 
 
การดื่มน้ำ
 
       ดื่มน้ำมากพอ การดื่มน้ำต้องดื่มให้เป็นให้เพียงพอ โดยดูได้จากตื่นนอนในตอนเช้าปัสสาวะมีสีใส   ถ้ามีสีเหลืองเข้มหรือสีชายังใช้ไม่ได้ ตื่นมาตอนเช้ารีบดื่ม ๒-๓ แก้ว(ประมาณ ๑ ลิตร) ก่อนออกเดินทาง ๑   ชั่วโมงไม่ควรดื่มน้ำแต่เมื่อเดินทางใกล้จะถึงที่หมายจึงค่อยดื่ม หนึ่งชั่วโมงก่อนนอนไม่ควรดื่มน้ำ
 
        ดื่มน้ำน้อย โอกาสจะเกิดอาการข้อเท้าแพลงก็มีมากเพราะเส้นลีบ ทั้งยังทำให้เกิดอาการมึน และปวดศรีษะได้
 
 
การรับประทานอาหาร 
 
กินข้าวเป็น
 
        มื้อเช้า รับประทานแค่เพียงค่อนท้องก็พอ เพราะถ้าอิ่มมากเกินไปจะรับประทานตอนเพลไม่ได้ แล้วจะทำให้หิวตอนบ่ายหรือค่ำ
 
       มื้อเพล รับประทานให้อิ่มพอดี จากนั้นอีกประมาณ ๑๐ นาที ดื่มน้ำตาม ๑ แก้ว เพื่อช่วยในการย่อย
 
      เหตุที่กระเพาะลำไส้ไม่มีแรงเพราะดื่มน้ำน้อย กระเพาะจึงต้องใช้พลังงานมากในการย่อย ดังนั้นหากมีความรู้สึกว่าอีก ๔-๕ คำจะอิ่มให้หยุดรับประทาน เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับน้ำ และการย่อยในกระเพาะอาหาร
 
       กลั้นปัสสาวะนาน ๆ อันตราย! ทำให้ตับร้อน ไตร้อน ทำลายสุขภาพร่างกาย
 
      กลั้นอุจจาระนาน ๆ อันตราย! ทำให้ของเหลวในอุจจาระถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ลำไส้แล้วเข้าสู่เส้นเลือด ทำให้เลือดเสีย กลิ่นตัวแรงเป็นโรคผิวหนัง อุจจาระแข็ง เพราะน้ำถูกดูดซึมกลับเข้าสู่เส้นเลือดขับถ่ายลำบากอาจเป็นเหตุทำให้เป็นโรคริดสีดวงทวารได้
 
    การกินไม่เป็น ปัสสาวะไม่เป็น อุจจาระไม่เป็น ออกกำลังกายไม่เป็นเป็นเหตุทำให้ต้องไปพบแพทย์บ่อย ๆ สูญเสียความมั่นใจในสุขภาพของตนเอง บั่นทอนจิตใจกลายเป็นคนวิตกกังวลไปในที่สุดรักที่จะปฏิบัติธรรมให้ดี ต้องรักษาสุขภาพให้เป็นให้ดีด้วย
 
โอวาทพระภาวนาวิริยคุณ
วัดพระธรรมกาย
 
น่าเสียดายถ้าไม่รู้  
 
        -ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืนจะช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น
 
       -หลังรับประทานอาหารไม่ควรนั่งหรือนอนทันที ควรเดินไปมาซัก ๑๐-๑๕ นาที เพื่อให้อาหารย่อยเสียก่อน
 
      -หลังรับประทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำมาก จะทำให้น้ำย่อยเจือจาง ควรดื่มเพียงแก้วเดียว จากนั้นอีกประมาณ ๒๐-๓๐ นาที จึงค่อยดื่มให้เต็มที่ตามต้องการ
 
        -การดื่มน้ำอุ่นร่างกายจะได้รับประโยชน์มากที่สุด เพราะน้ำมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่ต้องปรับมากดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เลย
 
        -ควรรับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ และเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

วัฒนธรรมชาวพุทธทั้งหมด

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล