วัฒนธรรมชาวพุทธ มารยาท การดูแลสุขภาพ พิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วัฒนธรรมชาวพุทธมารยาทการรับประทานอาหารตามหลักเสขิยวัตร

มารยาทการรับประทานอาหารตามหลักเสขิยวัตร 
 
 
          การรับประทานอาหารไม่เพียงแต่เพื่อให้อิ่มท้องเท่านั้น หากแต่ยังเป็นเวลาที่สมาชิกในบ้านในครอบครัว หรือองค์กรเพื่อนสนิทมิตรสหายได้อยู่พร้อมหน้ากัน จึงควรมีข้อควรสนใจ ดังนี้
 
•ในการร่วมรับประทานอาหารกับผู้อื่น ควรรักษาจังหวะและความเร็วในการอิ่มให้พร้อมเพรียง หรือใกล้เคียงกันกับเพื่อน ๆ ร่วมโต๊ะ(หรือร่วมวง)
 
•เวลารับประทานอาหารไม่ควรสร้างความรำคาญและรบกวนผู้อื่น
 
• ต้องมีมารยาทขณะรับประทานอาหาร
 
เสขิยวัตร 
 
(ต้นบญญัติมารยาทไทย)
 
        พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท เกี่ยวกับการฉันภัตตาหารไว้เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ ได้ถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมและแบบแผนอันเดียวกัน เพื่อยังศรัทธาของผู้ศรัทธาอยู่ให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น และปลูกศรัทธาของผู้ยังไม่ศรัทธาให้งอกงามขึ้นซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ กับมารยาทการรับประทานอาหารในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ดังมีรายละเอียดจากพุทธบัญญัติ ดังต่อไปนี้
 
 
หมวดแห่งการรับบิณฑบาต (การรับอาหาร) 
 
        ๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้ เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพไม่ควรแสดงอาการรังเกียจใน อาหารที่รับมา รับด้วยอาการที่ยินดีเต็มใจ ไม่ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ
 
        ๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้  เมื่อรับบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร ไม่ควรเหลียวซ้ายแลขวาขณะรับอาหารหรือขณะตักอาหาร มารับประทาน
 
        ๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า การนำไปใช้ เราจักรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก (ไม่รับกับข้าวมากไป) ไม่ควรตักแต่กับข้าวที่ตนเองชอบ โดยไม่เปิดโอกาสให้เพื่อนร่วมวงอาหารได้ตักเลย 
 
        ๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้ เราจักรับบิณฑบาตพอเสมอขอบปากบาตร ไม่ควรตักอาหารใส่จานตนเองจนล้นหกเลอะเทอะ ควรตักแต่พอประมาณหมวดแห่งการฉันบิณฑบาต (การรับประทาน)
 
         ๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้ เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ ไม่ควรทำอาการรังเกียจอาหารที่ไม่ชอบ ควรรับประทานด้วยท่าทีสงบเพื่อรักษาศรัทธาของเจ้าภาพ 
 
         ๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้ เมื่อฉันบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตรขณะรับประทานควรมีอาการสำรวม ไม่ควรมองคนโน้นคนนี้หรือมองทั่วบริเวณ  
 
        ๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้ เราจักไม่ตักข้าวสุกให้แหว่งตรงกลาง(ฉันไปตามลำดับ) ตักข้าวไม่ให้เลอะขอบจาน  
 
        ๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้ เราจักฉันแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก(ไม่ฉันกับข้าวมากไป) ไม่ควรเลือกรับประทานอาหารเฉพาะที่ตนเอง ชอบและตักกับข้าวมากเกินไปจนคนอื่นไม่ได้ รับประทาน 
 
        ๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้    เราจักไม่ขยุ้มข้าวสุกแต่ยอดลงไป  เมื่อรับประทานควรตะล่อมและเกลี่ยข้าวในจานของตนเองให้เรียบร้อยตลอดเวลา ไม่เลอะเทอะทั่วจาน 
 
        ๑๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับข้าวด้วยหวังได้มาก  
 
         ๑๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้เราไม่เจ็บไข้จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์  แก่ตนมาฉันไม่ควรเลือกรับประทานอาหารอร่อยๆ หรือราคา แพง ๆ เท่านั้นหรือร้องขออาหารที่ชอบใจจากเจ้า ภาพโดยขาดความเกรงใจ
 
         ๑๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้  เราจักไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษขณะรับประทานอาหารไม่ควรมองดูจานอาหาร ของผู้อื่นอาจเป็นเหตุนำมาซึ่งการอิจฉาริษยาได้ 
 
        ๑๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้ เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไปไม่ควรตักอาหารจนพูนช้อน จะทำให้ต้องอ้าปากกว้าง เมื่อจะรับประทาน ทำให้เคี้ยวไม่ละเอียด
 
         ๑๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า การนำไปใช้    เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อมควรตักอาหารแล้วตะล่อมให้เรียบร้อย ไม่ให้ล้นช้อนจนหกเรี่ยราด
 
        ๑๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า  เราจักไม่อ้าปากไว้รอท่า ในเมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก
 
       ๑๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้ เราจักไม่เอานิ้วสอดเข้าปากในขณะฉัน  ในกรณีที่ต้องแคะเศษอาหารที่ติดฟัน ควรใช้ไม้ จิ้มฟัน โดยมีผ้าหรือมือปิดบังด้วย
 
         ๑๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้   เราจักไม่พูด ทั้งที่ยังมีคำข้าวอยู่ในปาก  ไม่ควรพูดคุยเสียงดัง ขณะเคี้ยวอาหารอยู่ ไม่ควร ตักอาหาร ใส่ปากอีก ขณะยังมีคำข้าวในปากอยู่
 
         ๑๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้ เราจักไม่โยนคำข้าวเข้าปากอาหารที่เป็นเม็ด ๆ ก้อน ๆ เช่น ถั่ว ขนม ลูกอม ไม่ควรโยนเข้าปาก เพื่อรับประทาน
 
         ๑๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้ เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว อาหารที่เป็นชิ้นใหญ่เกินคำ ควรใช้ช้อนหรือส้อม ตักให้พอดีคำรับประทาน หากเป็นอาหารประเภทปิ้งด้วยไม้ ก่อนรับประทานควรนำอาหารออกจาก ไม้ก่อนแล้วใช้ส้อมหรือช้อนตักรับประทาน
 
         ๒๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้      เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ไม่ควรทำคำข้าวให้ใหญ่ หากเป็นผลไม้ชิ้นใหญ่ ๆ ควรตัดให้พอดีคำ
 
         ๒๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า  การนำไปใช้ เราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลางไม่ควรสะบัดมือหรือช้อมส้อมที่มีเศษอาหารติดอยู่ เพราะจะ ทำให้้กระเด็นถูกผู้อื่นเลอะเทอะ
 
        ๒๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้ เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าวให้ตกลงในบาตรหรือในที่นั้นๆ   ไม่ควรรับประทานให้เมล็ดข้าวหรืออาหารตกเรี่ยราดลงบนพื้น 
 
       ๒๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้ เราจักไม่ฉันแลบลิ้นไม่ควรแลบลิ้นเลียอาหาร 
 
        ๒๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า   การนำไปใช้เราจักไม่ฉันดังจับ ๆ ไม่ควรอ้าปากกว้างขณะเคี้ยวอาหารเพราะจะทำให้เกิดเสียงดัง ขณะเคี้ยว หากเป็นอาหารแห้ง กรอบควรอมไว้ในปากสักครู่ให้อ่อนนุ่มจึงค่อยเคี้ยว    
 
        ๒๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้เราจักไม่ฉันดังซูด ๆ การรับประทานอาหารที่เป็นน้ำหรืออาหารประเภทเส้นไม่ควร ซดเสียงดัง หากอาหารนั้นร้อนอยู่ควร รับประทานทีละน้อย หรือรอให้ความร้อนลดลงจึง ค่อยรับประทาน  
 
         ๒๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้   เราจักไม่ฉันเลียมือ ไม่ควรเลียมือหรือเลียช้อนส้อม มีด ตะเกียบ ขณะรับประทาน หากเศษอาหารติดควรเช็ดด้วยกระดาษ  
 
         ๒๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้ เราจักไม่ฉัน(ขอดบาตร)เลียบาตร ไม่ควรขูดจานหรือชามที่ใส่อาหารรับประทาน จะทำให้เกิดเสียงดัง ก่อนรับประทานอาหาร ควรตักน้ำแกงราดรอบ ๆจาน เพื่อให้เมล็ดข้าวชุ่มด้วยน้ำ แกงจะได้ไม่ติดจาน และ ช้อนส้อม 
 
         ๒๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า การนำไปใช้ เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปากไม่ควรเลียริมฝีปาก หากมีเศษอาหารติด ควรใช้กระดาษทิชชู เช็ดปาก หรือผ้าเช็ดออก 
 
        ๒๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าการนำไปใช้ เราจักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะใส่น้ำไม่ควรใช้มือที่เปื้อนเศษอาหารจับแก้วน้ำ เพราะอาจเกิดความมันแก้วน้ำ เป็นเหตุให้ล้างออกยาก และแก้วน้ำอาจลื่นหล่นตกแตกได้ หมวดการล้างบาตร (การล้างภาชนะใส่อาหาร) 
 
         ๓๐. ภิกษุพึงทำความศีกษาว่าการนำไปใช้เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในละแวกบ้าน ควรรับประทานให้หมดอย่าให้เหลือทิ้ง และเช็ดจานให้เรียบร้อย ไม่มีคราบมันหรือเศษอาหารติดอยู่ จะทำให้สะดวกต่อการนำไปล้าง ส่วนเศษอาหารควรห่อด้วยกระดาษให้เรียบร้อย แล้วนำไปทิ้งถังขยะ 
 
 
น่าเสียดาย...ถ้าไม่รู้
 
มารยาทในการดื่มน้ำ
 
มีระเบียบวิธีการที่เหมาะสม ดังนี้
 
๑. การรินน้ำ ไม่ควรให้เกิดเสียงดัง โดยเอียงแก้วให้น้ำที่รินจากเหยือกหรือภาชนะอื่นไหลตามผนังแก้วลงสู่ก้นแก้วขณะรินน้ำ
 
๒. ไม่ควรยืนดื่มน้ำ
 
๓. ฝึกดื่มน้ำไม่ให้เกิดเสียงดัง โดยดื่มช้า ๆ ค่อย ๆ ดื่มทีละน้อย ๆ
 
 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

วัฒนธรรมชาวพุทธทั้งหมด

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล