วัฒนธรรมชาวพุทธ มารยาท การดูแลสุขภาพ พิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วัฒนธรรมชาวพุทธศิลปะการอยู่ร่วมกัน

 ศิลปะการอยู่ร่วมกัน  

 
        มนุษย์เป็นสัตว์สังคมอยู่กันเป็นกลุ่ม เป็นเผ่า เป็นชนชาติ ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลาทั้งทางกาย วาจา และใจ ถ้าหากไม่สามารถจะบริหารความสัมพันธ์กันได้แล้ว ความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันก็ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่าทุกคนต่างก็มีข้อบกพร่องอยู่ก็ตามแต่ถ้าหากรู้จักหลักการหรือศิลปะในการอยู่ร่วมกัน พร้อมทั้งได้ปฏิบัติตามหลักการนั้นแล้ว ก็จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขรักใคร่ปรองดองสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ไม่มีการกระทบกระทั่งหรือบาดหมางใจกัน ยังผลให้จิตใจสงบสบายไม่ขุ่นมัวสามารถรักษาใจให้อยู่กับความสงบสุขได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวันอย่างแน่นอน 
 
 
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงหลักแห่งการอยู่ร่วมกันไว้ดังนี้ 
 
 
๑. หลักแห่งการอยู่ร่วมกัน (สาราณียธรรม)
 
๑.๑ เมตตากายกรรม ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมหมู่คณะ ด้วยความเต็มใจเคารพนับถือกัน ยิ้มแย้มแจ่มใส 
 
๑.๒ เมตตาวจีกรรม ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำ ตักเตือน ด้วยความหวังดี ทักทายไถ่ถาม สาระทุกข์สุขดิบ 
 
๑.๓ เมตตามโนกรรม ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกัน ในแง่ดีไม่เพ่งโทษกัน แผ่เมตตาจิตระลึกถึงกันยามห่างไกล 
 
๑.๔. สาธารณโภคี  ได้ของมาโดยชอบธรรมแบ่งปันให้ได้ใช้สอยบริโภคทั่วกัน 
 
๑.๕ สีลสามัญญตา มีศีลบริสุทธิ์เสมอกัน ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ 
 
๑.๖ ทิฏฐิสามัญญตา มีทิฎฐิดีงามเสมอกัน มีความเห็นชอบร่วมกันในข้อที่เป็น หลักการสำคัญที่จะขจัดปัญหา นำไปสู่ความหลุดพ้นสิ้นทุกข์ 
 
 
๒. หลักแห่งการสงเคราะห์กัน (สังคหวัตถุ๔) 
 
๒.๑ ทาน คือการให้ความรู้ หรือให้สิ่งของ เป็นการแสดงน้ำใจด้วย การให้สิ่งของ 
 
๒.๒ ปิยวาจา คือมีวาจาอันเป็นที่รัก เช่น แนะนำประโยชน์ให้กำลังใจให้ เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน 
 
๒.๓ อัตถจริยา คือ ช่วยเหลือกันในกิจกรรมต่าง ๆ ไม่นิ่งดูดาย ไม่หวัง ค่าจ้าง แต่ทำด้วยใจสร้างความคุ้นเคยกัน เคียงบ่า เคียงไหล่ในการทำงานและกิจกรรมต่าง ๆ 
 
๒.๔ สมานัตตตา คือ เสมอต้นเสมอปลายทำตัวให้เข้ากับเขาได้ ให้ความปลอดภัยและความสบายใจ เคารพกติกากฏระเบียบของ หมู่คณะ วางตัวให้เหมาะสมกับภาวะของตนในบุคคลนั้นๆ ต้องรู้และเข้าใจบทบาทของตนเอง และปฏิับัติถูกต้องตาม บมบาทของตนเอง 
 
 
 
ประโยชน์ของมารยาท มีดังนี้ 
 
๑. ป้องกันการกระทบกระทั่ง
 
๒. ปิดบังความไม่งามของร่างกาย
 
๓. เป็นที่จำเริญตา จำเริญใจแก่บุคคลรอบข้าง
 
๔.ฝึกการเป็นคนรู้จักประมาณ และความพอดี
 
๕. ฝึกการสังเกต ทำให้เป็นคนละเอียดรอบคอบ
 
๖. ฝึกให้เป็นผู้มีศิลปะและมีความประณีต
 
๗. ฝึกความมีน้ำใจ รู้จักจับแง่คิดมุมมองที่ดี
 
๙. สามารถรักษาใจได้ต่อเนื่อง เกื้อหนุนต่อการปฏิบัติธรรมให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆขึ้นไป 
 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

วัฒนธรรมชาวพุทธทั้งหมด

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล