วิญญาณขันธ์ หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ความรู้แจ้งอารมณ์ ความรับรู้เรื่องราว ต่างๆ ได้ คือ ความรู้แจ้งทางทวารทั้ง 6 ได้แก่ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ หรือเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน
...อ่านต่อ
สังขารขันธ์ หมายถึง ความคิดปรุงแต่ง คือ เมื่อรูปกระทบตา ประสาทตาก็รับเอาไว้ ก่อให้เกิดเวทนา การรับอารมณ์แล้วส่งไปให้ส่วนจำอารมณ์ที่เกิดขึ้น จากนั้นจึงส่งมาให้ส่วนที่ทำหน้าที่คิด ปรุงแต่งจิตให้คิดไปในเรื่องต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1.ความคิดดี เรียกว่า กุศลสังขาร 2.ความคิดชั่ว เรียกว่า อกุศลสังขาร 3.ความคิดไม่ดีไม่ชั่ว เป็นกลางๆ เรียกว่า อัพยากตสังขาร
...อ่านต่อ
สัญญาขันธ์ หมายถึง ความจำได้หมายรู้ คือ จำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำสัมผัส เกิดขึ้นเพราะกลไกการทำงานของใจที่สามารถจำหรือบันทึกข้อมูลไว้ได้ ทั้งภาพ ทั้งเสียง ทั้งกลิ่น ทั้งรส ทั้งสัมผัสทางกาย
...อ่านต่อ
เวทนาขันธ์ หมายถึง การเสวยอารมณ์ การรับอารมณ์ การรู้อารมณ์ เวทนาเมื่อแยกแบ่งได้ 3 อย่าง คือ 1.สุขเวทนา เป็นความรู้สึกสุข คือ สบายกาย สบายใจ 2.ทุกขเวทนา เป็นความรู้สึกทุกข์ คือ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ 3.อทุกขมสุขเวทนา เป็นความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ เฉยๆ
...อ่านต่อ
รูปขันธ์ คือ กองแห่งธรรมชาติที่จะต้องแตกสลายไปด้วยเหตุต่างๆ มีหนาวและร้อนเป็นต้น เช่น หนาวจัด เย็นจัด จนเกินขีด หรือถูกร้อนจนเกินขีด ย่อมแตกสลายไป
...อ่านต่อ
ขันธ์ 5 หรือรูปและนาม เป็นองค์ประกอบที่ให้สัตว์เวียนว่ายอยู่ในภพ 3 ไม่ว่าจะเกิดเป็นมนุษย์ หรือแม้ละจากโลกนี้ไปเป็นเทวดา พรหม อรูปพรหม ก็ล้วนประกอบด้วยขันธ์ 5 แม้แต่ไปเกิดในอบายภูมิ เป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน หรือแม้แต่สัตว์นรกในโลกันต์ ก็ประกอบด้วยขันธ์ 5
...อ่านต่อ
คำว่า “ ขันธ์” หมายความว่า สิ่งที่เป็นกลุ่ม เป็นกอง หรือเป็นพวกๆ ขันธ์ 5 จึงหมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม 5 หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา สิ่งที่แยกกันไว้เป็นกลุ่ม เป็นกอง หรือเป็นพวกๆ จำนวน 5 อย่างนั้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
...อ่านต่อ
เราได้ศึกษามาแล้วว่า ตราบใดที่กิเลสยังมีอยู่ สรรพสัตว์ทั้งหลายถูกกิเลสบังคับให้ทำ กรรม กรรมทำให้ต้องไปเสวยวิบากในภพภูมิ ในภวสูตร พระอานนท์ได้เข้าไปถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงเหตุเกิดของภพทั้ง 3 ภพมีได้เพราะเหตุใด
...อ่านต่อ
แม้ว่าภพภูมิจะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมดา แต่มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายยากที่จะมองเห็น เพราะความจำกัดของดวงตา
...อ่านต่อ
การมองเห็นจักรวาลอันกว้างใหญ่หลายๆ จักรวาล ในทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึง ในสมัยพุทธกาลคือ พระอนุรุทธะผู้เป็นเลิศทางทิพยจักขุได้ตอบพระสารีบุตรถึงป่าโคสิงคสาลวัน งามด้วยภิกษุเช่นไร
...อ่านต่อ
มนุษย์ได้พยายามค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องโลกและจักรวาลมายาวนาน กาลิเลโอเป็นคนแรก ที่ค้นพบว่าโลกกลม ความรู้ของกาลิเลโอเป็นความรู้ใหม่
...อ่านต่อ
คำว่า ภพภูมิ หมายถึง โลกหรือสถานที่อันเป็นที่อาศัยอยู่ของสรรพสัตว์ผู้ยังมีกิเลส ยังไม่เข้าสู่พระนิพพาน นั่นหมายความว่ามนุษย์ตลอดถึงสรรพสัตว์ทั้งปวงเมื่อยังไม่หมดกิเลส
...อ่านต่อ
เราได้ศึกษาประเภทของกรรมมาแล้ว และรู้ลักษณะประเภทของกรรมต่างๆ เมื่อว่าโดยสังสารวัฏ การที่เรายังมีกิเลสและทำกรรมอยู่ ทำให้ต้องเกิดในภพภูมิต่างๆ (ซึ่งจะได้กล่าวถึงในบทต่อไป) กรรมที่เราได้ทำไว้นี้ สามารถจำแนกเหตุให้ไปบังเกิดในภพภูมิต่างๆ มี 4 อย่าง
...อ่านต่อ
ในการศึกษาเรื่องการให้ผลของกรรมในภาคปฏิบัติ ก่อนอื่นต้องทบทวนความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับกิเลส ซึ่งเป็นต้นเหตุของกรรมและทำให้เกิดวิบากในเบื้องต้นก่อน
...อ่านต่อ
กรรมนี้จะหยุดให้ผลด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ 1.หมดแรง คือ ให้ผลจนสมควรแก่เหตุแล้ว เหมือนคนได้รับโทษจำคุก 2 ปี เมื่อถึงกำหนดแล้ว เขาย่อมพ้นจากโทษนั้น นอกจากในระหว่าง 2 ปีที่ถูกจองจำอยู่
...อ่านต่อ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงกรรมและการให้ผลของกรรมไว้ในกุกกุโรวาทสูตร13) คือ “ ดูก่อนปุณณะ กรรม 4 ประการนี้… กรรมดำ มีวิบากดำมีอยู่ กรรมขาว มีวิบากขาว มีอยู่” กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวมีอยู่ กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาวเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่”
...อ่านต่อ
กรรมที่บุคคลประพฤติผ่านทางกาย วาจาและใจ ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ย่อมมีผล แห่งการกระทำเสมอ วิบากจะเป็นประดุจเงาติดตามกรรม โดยมีกรรมเป็นเหตุและวิบากเป็น ผลเสมอ
...อ่านต่อ
กรรมอย่างเดียวกัน อาจเรียกชื่อต่างออกไปตามหน้าที่ กาล และความหนักเบา เช่น การฆ่ามารดาบิดาจัดเป็นกรรมหนัก(ครุกรรม)
...อ่านต่อ
เมื่อกรรมนำไปปฏิสนธิในภพใหม่ คือ คนที่ทำกรรมดีไว้ย่อมไปเกิดในภพที่ดี คนทำ กรรมชั่วไว้มากไปเกิดในภพที่ชั่ว กรรมที่ส่งให้เกิดนั้น เรียกว่า ชนกกรรม สมมติว่าชนกกรรมฝ่ายดีส่งให้เกิดในตระกูลที่ดี มั่งคั่งด้วยทรัพย์สินสมบัติและบริวาร มีตระกูลสูง เขาเกิดเช่นนั้นแล้ว ไม่ประมาท
...อ่านต่อ
พระพุทธโฆษาจารย์ ได้จัดโครงสร้างภาพรวมของกรรม โดยจำแนกกรรมเป็น 3 ประเภท ดังนี้10) ประเภทที่ 1 กรรมให้ผลตามความหนักเบา มี 4 อย่าง คือ 1)ครุกรรม หรือครุกรรม กรรมหนัก ฝ่ายดีหมายถึง ฌาน วิปัสสนา มรรค ผล ฝ่ายชั่วหมายถึง อนันตริยกรรม 5 คือ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ห้อพระโลหิต ทำสงฆ์ผู้สามัคคีกันให้แตกกัน 2)อาจิณณกรรม หรือพหุลกรรม กรรมทำบ่อยจนเสพคุ้น กรรมที่ทำจนเคยชิน ทำมาก ทำสม่ำเสมอ กรรมนี้จะให้ผลยั่งยืนมาก
...อ่านต่อ
สิ่งที่เรียกว่า”กรรม” ตามความหมายในพระพุทธศาสนา หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรติ กาเยน วาจาย มนสาติ…”5) “ หมายความว่า ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นเอง เราเรียกว่า กรรม บุคคลจงใจแล้ว จึงทำด้วยกาย วาจา ใจ
...อ่านต่อ

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร


ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล